บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน/อภิปรายผลการดำเนินงาน

สรุปผลการศึกษา
       ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์มือถือสำหรับปลูกต้นอ่อนทานตะวัน ปลูกเมล็ดต้นอ่อนทานตะวันจำนวน 100 กรัมต่อตะกร้า อุปกรณ์ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์วงจร Arduino ควบคุมการทำงาน สามารถรดน้ำได้อัตโนมัติโดยวัดความชื้นในดิน มีการรายงานค่าความชื้นและจำนวนครั้งของการรดน้ำผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังศึกษาปริมาณน้ำที่ใช้ในการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน ใช้เวลาในการปลูก 7 วัน ซึ่งระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติใช้ปริมาณน้ำทั้งหมด 3,179 มิลลิลิตรต่อการปลูก 1 ครั้ง โดยที่การปลูกแบบปกติ ใช้ปริมาณน้ำ 4,200 มิลลิลิตร ทำให้ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติประหยัดน้ำได้ถึง 1,021 มิลลิลิตรต่อ 1 ครั้ง และการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวันสูงกว่าการปลูกแบบปกติถึง 19.4 จึงสรุปได้ว่าการปลูกต้นอ่อนทานตะวันโดยใช้ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าการปลูกแบบปกติ โดยที่สามารถปลูกต้นอ่อนทานตะวันได้เป็นจำนวนมากโดยที่ไม่ต้องใช้แรงงานในการรดน้ำดูแล

อภิปรายผลการดำเนินงาน
       จากการศึกษาพบว่าการประดิษฐ์ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์มือถือสำหรับปลูกต้นอ่อนทานตะวัน มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน เพื่อให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงต้องศึกษาเอกสารต่างๆ จากคำแนะนำของครูที่ปรึกษา หนังสือ เว็บไชต์ และโครงงานประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัตินี้ใช้เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดินในการควบคุมการรดน้ำ มีการรายงานค่าความชื้นและจำนวนครั้งของการรดน้ำผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยจะทำงานรดน้ำอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อความชื้นในดินมากกว่าค่าที่เหมาะสมของต้นอ่อนทานตะวัน ค่าความชื้นที่เหมาะสมแก่การปลูกต้นอ่อนทานตะวันคือ 600 เป็นค่าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติใช้เวลาในการปลูก 6-9 วัน ใช้ปริมาณน้ำทั้งหมด 3,179 มิลลิลิตร โดยที่การปลูกแบบปกติใช้เวลา 7-10 วัน ใช้ปริมาณน้ำ 4,200 มิลลิลิตร การเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวันสูงกว่าการปลูกแบบปกติถึง 19.4 การปลูกต้นอ่อนทานตะวันโดยใช้ระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าการปลูกแบบปกติ โดยที่สามารถปลูกต้นอ่อนทานตะวันได้เป็นจำนวนมากโดยที่ไม่ต้องใช้แรงงานในการรดน้ำดูแล
        การที่อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้ในการปลูกต้นอ่อนทานตะวันได้จริง สะท้อนให้เห็นความเป็นไปได้ของการใช้แบบจำลองดังกล่าวเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการปลูกต้นอ่อนทานตะวันที่มีประสิทิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดความคุ้มทุนต่อไป

ข้อเสนอแนะ

       1 เพิ่มจำนวนต้นที่ทำการสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่าง
       2 แยกสีกราฟให้ชัดเจน หรือใส่เลขกำกับเส้น

ความคิดเห็น